วันอังคาร ที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2560
บทที่ 1
ธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย
1. ลักษณะของการยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
2. มีความสามารถในขอบเขตจำกัดและแตกต่างกัน
3. ต้องการการเอาใจใส่ดูแลทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
4. เป็นวัยที่ชอบอิสระ
5. ชอบแสดงออกและต้องการการยอมรับ
6. ชอบเล่น
7. มีช่วงความสนใจสั้น
การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง การเรียนรู้จากประสบการณ์ตรง
เป็นการเรียนรู้ที่เด็กได้พบหรือสัมผัสกับประสบการณ์ จากสภาพแวดล้อมโดยการกระทำ การรับรู้ การพบเห็นด้วยตนเอง
2. การเรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม การเรียนรู้จากประสบการณ์
ทางอ้อม เป็นการเรียนรู้จากการบอกเล่าของบุคคลต่าง ๆ คนใกล้ชิด
ญาติผู้ใหญ่ หรือจากหนังสือ การสังเกตจากตัวแบบ การเลียนแบบ
การบอกเล่าให้ฟังจะทำให้เด็กสร้างภาพขึ้นในสมองของตนแทนการเห็น
ของจริง
ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
โดยธรรมชาติของเด็กปฐมวัยรูปแบบของพัฒนาการทางร่างกายอารมณ์ สังคม และสติปัญญา รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมและเสาะแสวงหาประสบการณ์ จะมีลักษณะที่คล้ายคลึงกันเกือบทุกชาติ ทุกเผ่าพันธุ์ หากแต่สภาพแวดล้อมทั้งทางกายภาพและจิตภาพที่แวดล้อมรอบตัวเด็กนั่นเอง ที่ทำให้อัตราการพัฒนาช้า-เร็วแตกต่างกัน
ทักษะการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
1. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 2-3 ปี
•มีปฏิกิริยาโต้ตอบง่าย ๆ ได้
•ดูหนังสือภาพแล้วเรียกชื่อสิ่งที่ดูหรือเห็นจากภาพได้
•จับคู่สิ่งของได้ โดยรู้ความสัมพันธ์กัน
•เริ่มเรียนรู้ขนาดใหญ่-เล็ก
•จับภาพหน้าตาส่วนต่าง ๆ ของตนได้ (ภาพหรือส่องกระจก)
•บอกได้ว่ากำลังทำอะไรอยู่
•เริ่มชอบเลียนแบบการทำงานของผู้ใหญ่
•มีช่วงความสนใจระยะสั้น ๆ เริ่มเรียนรู้และเริ่มเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่ชี้แนะ/บอก
•เริ่มเข้าใจส่วนย่อย ๆ และส่วนรวมของสิ่งที่นำมารวมกัน
2. ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 3-4 ปี
•สามารถจำสี จับคู่สีเหมือนกันได้มากกว่า 3 สี
• สามารถเข้าใจเปรียบเทียบขนาด ใหญ่ กลาง เล็กได้
• วาดภาพอย่างมีความหมาย และบอกชื่อภาพได้
• ชอบซักถามว่า ทำไม . . . .
• บอกชื่อ-นามสกุลได้ เมื่อได้รับการสอนให้จำ
•มีความสนใจช่วงระยะสั้น ๆ พยายามเรียนรู้และเข้าใจสิ่งที่ผู้ใหญ่บอก/สอน และอาจหยุดความสนใจได้ง่าย ๆ
•มีความเข้าใจเรื่องความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ง่าย ๆ
•เริ่มเข้าใจความหมายของเวลาคร่าว ๆ เช่น เมื่อเช้านี้ เมื่อวานนี้เป็นต้น
3.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 4-5 ปี
•สามารถพูดตามเป็นคำสัมผัส ท่องคำสัมผัส และสนุกกับคำที่ออกเสียงซ้ำๆ สัมผัสเสียงและจังหวะ
•ชี้บอกชื่อสีได้ตั้งแต่ 4-6 สี
• จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกัน หรือสิ่งของประเภทเดียวกันได้
•วาดภาพคนโดยมีส่วนต่าง ๆ ของคน ตั้งแต่ 2-6 ส่วน
•และเปรียบเทียบส่วนต่าง ๆของร่างกายได้
•วาดภาพและบอกชื่อภาพที่วาดได้
• บอกชื่อสถานที่ที่บ้านตนตั้งอยู่ได้
• มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
•มีความสนใจในความคิดรวบยอด/มโนทัศน์ดีขึ้น
4.ทักษะการเรียนรู้ของเด็กอายุ 5-6 ปี
• สามารถเล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
• ออกชื่อตัวพยัญชนะ ตัวเลขที่ตนจำได้ อ่านได้
• นับเลข เข้าใจความหมาย สัญลักษณ์ตัวเลขถึง 10
•จัดประเภท แยกสิ่งของที่มีคุณลักษณะแตกต่างกันได้
•รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ชัดเจนถูกต้อง เช่น เมื่อวานนี้ วันนี้ พรุ่งนี้
• จับอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือได้ถนัด
• มีความสนใจมากขึ้น อดทนเพราะอยากรู้จริง
•มีความเข้าใจในความคิดรวบยอดดี เข้าใจเหตุการณ์ เหตุ และผล ของสิ่งที่
เกิดขึ้นได้
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
เด็กปฐมวัย เป็นวัยพื้นฐานในการเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การพัฒนาของชีวิต เด็กจะเริ่มพัฒนาลักษณะความเป็นตัวของตัวเอง ให้ความสนใจในสิ่งรอบตัว และชอบตั้งคำถามในเรื่องต่าง ๆ เด็กจะพยายามและต้องการช่วยเหลือตนเอง
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
พัชรี สวนแก้ว (2536) ได้กล่าวถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการของเด็กไว้ดังนี้
• อาหาร
• อากาศที่บริสุทธิ์และแสงแดด
• เชื้อชาติ
• เพศ
• ต่อมต่าง ๆ ของร่างกาย
• สติปัญญา
•การบาดเจ็บและโรคภัยไข้เจ็บ
•ตำแหน่งในครอบครัว
การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต
ประโยชน์ของการจัดกิจกรรม
เด็กปฐมวัย เป็นวัยที่ต้องการออกมาสัมผัสกับโลกภายนอกมากขึ้น เริ่มมีสังคมนอกบ้าน เด็กจะเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ รอบตัวด้วยความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น และมักมีจินตนาการ ของตนเอง เด็กจะเรียนรู้ภาษาและคำพูดได้เร็ว ชอบเลียนแบบในขณะเดียวกันก็ต้องการอิสระ อยากพึ่งตนเอง และต้องการทำกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตนเอง กิจกรรมของเด็กปฐมวัยจึง มีความสำคัญมาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น