ครั้งที่ 3

การเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคาร ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2560

บทที่ 2
สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายและความสำคัญของสื่อ
      ในกระบวนการสื่อสารนั้นผู้ส่งสารจะส่งสารไปยังผู้รับ ซึ่งผู้รับจะรับสารได้โดยผ่านทางประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ การเห็น การได้ยิน การสัมผัส การได้กลิ่น และการลิ้มรส โดยทั่วไปเมื่อกล่าวถึงสารก็มักจะ นึกถึงภาษาพูดหรือเขียน ซึ่งอาจเป็นได้ทั้งตัวสารคือเนื้อความหรือ ความหมายที่ผู้ส่งสารต้องการส่งไปยังผู้รับหรืออาจจะพิจารณาว่า เป็นสื่อที่ทำให้ผู้รับสารทราบเนื้อหาของสารที่ผู้ส่งสารต้องการส่งก็ได้ ดังนั้นเมื่อมีการกล่าวถึงลักษณะของการสื่อสาร เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน หรืออากัปกริยาต่าง 
สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เป็นตัวกลางที่ผู้เลี้ยงดูเด็กนำมาช่วยในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยมหรือทักษะที่ตนมีไปสู้เด็กได้อย่างมีประสิทธิภาพและเด็กเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์ หรือจุดมุ่งหมายได้ดีที่ดุด
ความสำคัญของสื่อ
•เป็นเครื่องมือส่งเสริมเด็กให้กล้าแสดงออกและเกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ 
•เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์เครื่องมือเร้าความสนใจของเด็ก ให้ติดตามเรื่องราวด้วยความสนใจและไม่เกิดความรู้สึกว่าเป็น “การเรียน”
ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย

สื่อการสอนประเภทวัสดุ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่มีการสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม ภาพถ่าย ภาพยนตร์ สไสด์ เป็นต้น

สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ หมายถึง สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ ซึ่งได้แก่ เครื่องเสียง เช่น เครื่องรับวิทยุและเครื่องเล่นเทปบันทึกเสียง กับอุปกรณ์ที่ไม่ใช่ทั้งเครื่องเสียงและเครื่องฉาย เช่น กระดานดำ ม้าหมุน และกระดานหก

สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ ได้แก่ การจัดระบบการสาธิต การทดลอง เกม และกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกิจกรรมที่ครูจัดทำขึ้นแต่มุ่งให้นักเรียนเข้ามีส่วนในการปฏิบัติ เช่น การเล่นบทบาทสมมติ การจัดสถานการณ์จำลอง และการจัดศูนย์การเรียน เป็นต้น
ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย


•เด็กแรกเกิดถึงหนึ่งขวบ เด็กวัยนี้จะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการอย่างเป็นลำดับ นับจากเริ่มจ้องมองสิ่งของ เริ่มเคลื่อนไหวร่างกายไขว่คว้า ฝึกคืบคลาน กระทั่งตั้งไข่เกาะยืนและพยายามจะหัดเดินด้วยตนเองและหัดใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้หยิบของชิ้นเล็กๆ
• วัยหนึ่งขวบถึงสองขวบ วัยนี้เด็กเคลื่อนไหวร่างกายได้มากขึ้นและเร็วขึ้น เด็กจะไม่หยุดนิ่งแต่จะปีนโน่นป่ายนี่อยู่ไม่หยุดและไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยเด็กวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ซุกซนเพราะฉะนั้นผู้ใหญ่ต้องคอยช่วยเหลือใกล้ชิดโดยเฉพาะคอยระวังเรื่องอุบัติเหตุต่างๆ




ความหมายและความสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย




•วัยสี่ขวบถึงห้าขวบ เด็กวัยนี้จะมีความคิดเห็นเป็นของตนเองมีความภาคภูมิใจในตนเอง เด็กวัยนี้จะเข้าใจภาษามากขึ้น กำลังฝึกการพูดเป็นประโยคยาว ๆ เด็กสามารถช่วยตนเองได้ทุกอย่าง


• วัยห้าขวบถึงหกขวบ เด็กวัยนี้ชอบเล่นของเล่นที่ช่วยทำให้เกิดความคิดสร้างสรรค์จากสิ่งต่าง ๆ ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่ชอบเล่นตั้งกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ชอบเล่นใช้กำลัง


การเล่นของเด็กปฐมวัย 
ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น

การเล่นเป็นปัจจัยที่สำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก การเล่นจะทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ พัฒนาทักษะด้านร่างกายและสังคม มีความเข้าใจสภาพความเป็นจริงของชีวิต และเพื่อให้เด็กได้รู้จักกฎ กติกาของการเล่น สอนให้เด็กได้เล่นร่วมกับเพื่อนอย่างมีความสุขฝึกฝนการใช้ภาษา การจัดการศึกษาปฐมวัยที่เอื้อให้เด็กเล่น จึงเป็นการที่ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กทุกด้านอย่างแท้จริง


คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
สอดคล้องกับหลักสูตร แผนการจัดประสบการณ์เตรียมความพร้อม
เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อและเล่นร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านสังคม
เหมาะสมกับวัยและความสามารถและความสนใจของเด็ก


ประเภทของสื่อสร้างสรรค์และเครื่องเล่น
• บล็อก
• เครื่องเล่นสัมผัส
• เกมการศึกษา
• ชุดฝึกทักษะการเคลื่อนไหว
• หนังสือภาพนิทาน
• หุ่นต่าง ๆ
• ศิลปะสร้างสรรค์
• ชุดฝึกทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
• เพลงและดนตรี


ประโยชน์ของการเล่น

การเล่นช่วยให้เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ด้านร่างกาย จะช่วยให้เด็กมีร่างกายแข็งแรง สมบูรณ์เพิ่มทักษะ การใช้กล้ามเนื้อต่าง ๆ ด้านอารมณ์จะช่วยให้เด็กเป็นผู้มีอารมณ์แจ่มใส เบิกบาน สนุกสนาน ด้านสังคมจะช่วยเสริมสร้างให้เด็ก เป็นผู้ที่มีความเชื่อมั่นในตนเอง กล้าแสดงออก สามารถร่วมเล่นกับเพื่อนได้อย่างสร้างสรรค์และมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น


วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัยได้ดังนี้
• จัดหาสถานที่อุปกรณ์การเล่นที่เหมาะสมแก่วัยของเด็ก
• ปล่อยให้เด็กเล่นอย่างอิสระตามความคิดและจินตนาการ
• กระตุ้น ชี้แจง หรือแนะนำวิธีการเล่นใหม่ๆให้กับเด็ก
• กล่าวคำชม
• ผู้ใหญ่ควรช่างสังเกตและจดจำเกี่ยวกับการเล่นของเด็กเมื่อพบว่าเด็ก
  สนใจในสิ่งใดเป็นพิเศษควรส่งเสริมความสนใจนั้น ๆ


ประโยชน์ของสื่อสร้างสรรค์


1. หลักการเลือกสื่อสร้างสรรค์

1.1 ประโยชน์

1.2 ประหยัด

1.3 ประสิทธิภาพ

2. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์

3. ประโยชน์ของการใช้สื่อสร้างสรรค์ที่ส่งผลผู้สอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น