ครั้งที่ 5

การเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคาร ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560



บทที่ 4
กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้

เกม (Games)

สำหรับเกมในทรรศนะของนักการศึกษาปฐมวัย ได้อธิบายว่า เกม เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก ซึ่งเกมจะเป็นเครื่องจูงใจเพื่อนำเด็กไปสู่การเรียนรู้อย่างสนุกสนาน และพึงพอใจ และเกมสำหรับเด็กนั้นไม่มุ่งเน้นในเรื่องของการแข่งขันหรือการหาผู้ที่ชนะ

จุดมุ่งหมายของการเล่นเกม

2.1 ได้รับความเพลิดเพลินสนุกสนาน

2.2 พัฒนานิสัยการเล่นที่ดีและมีน้ำใจเป็นนักกีฬา

2.3 ฝึกท่าทางให้มีสุขภาพและรูปทรงสวยงาม

2.4 เร้าประสาทรับรู้ให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

2.5 สร้างความเชื่อมั่นและการบังคับตนเอง

2.6 ฝึกความร่วมมือในฐานะเป็นสมาชิกของกลุ่ม
เกมการเล่น

1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย

2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว

3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์

4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม

5. เกมช่วยพัฒนาด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ

เกมการศึกษา

หมายถึง สื่อการเรียน ที่จัดขึ้นเพื่อให้เด็กได้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่าง ๆ จากการเล่นโดยมีกฎเกณฑ์หรือกติกา จะเป็นพื้นฐานการเตรียมความพร้อมโดยเป็นการเล่นที่ไม่มุ่งเน้นเฉพาะเกมบัตรภาพ แต่เป็นเกมหลายรูปแบบที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมพัฒนาการด้านสติปัญญาได้แก่ ด้านภาษา คณิตศาสตร์ เหตุผล มิติสัมพันธ์ ประสาทสัมผัสการับรู้และการจำ ตอลดจนความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ

วัตถุประสงค์ของเกมการศึกษา

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาเอกชน (2537, หน้า 129)

2.1 เพื่อฝึกให้เด็กรู้จักการสังเกตและการจำแนกด้วยสายตา

2.2 เพื่อฝึกการคิดหาเหตุผล

2.3 เพื่อฝึกการตัดสินใจในการแก้ปัญหา

2.4 เพื่อฝึกประสาทสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา

2.5 เพื่อฝึกให้มีคุณธรรมต่าง ๆ

2.6 เพื่อทบทวนเนื้อหาที่เรียนไปแล้ว

ประเภทของเกมการศึกษา

1) เกมการจับคู่

   (1) สิ่งที่เหมือนกัน

   (2) สิ่งที่สัมพันธ์กัน

   (3) สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน

   (4) สิ่งที่ขาดหายไป

2) เกมการจัดหมวดหมู่

3) เกมภาพตัดต่อ

4) เกมเรียงลำดับภาพหรือภาพต่อเนื่อง

   (1) เรียงลำดับเหตุการณ์

   (2) เรียงลำดับขนาด

   (3) เรียงลำดับจำนวน

5) เกมโดมิโนหรือเกมต่อภาพเหมือน

6) เกมตารางสัมพันธ์

7) เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

8) เกมลอตโต

ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา

เกมการศึกษาเป็นเครื่องมือที่จะช่วยถ่ายทอด นำความรู้ ประสบการณ์ด้านการเรียนสู่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ตามจุดประสงค์ที่ต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในการเลือกใช้เกมการศึกษาเป็นเรื่องประณีตละเอียดอ่อน

1) ไม่จำเป็นต้องมีการตระเตรียมกันมาล่วงหน้า หรือถ้ามีก็ควรให้น้อยที่สุด

2) เป็นเกมที่ง่าย ๆ ไม่ซับซ้อน และมีลักษณะท้าทายความสามารถของเด็ก

3) มีคำสั่งและกติกาในการเล่นชัดเจน

4) เป็นเกมสั้น ๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที

5) เป็นเกมที่ให้ทั้งความสนุกสนาน ร่าเริง แลได้รับความรู้หรือทักษะ

6) เป็นเกมที่ไม่ทำให้เสียวินัยในห้องเรียน

7) เป็นเกมที่เล่นเป็นทีม หรือเป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ

8) เป็นเกมที่เด็กได้มีการเคลื่อนไหวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายบ่างตามสมควร

9) ถ้าเป็นการแข่งขัน ควรที่จะง่ายในการตรวจสอบและการตัดสินใจให้คะแนน

10) ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่าย ๆ

ลักษณะสื่อ

1. เกมจับคู่



2. เกมภาพตัดต่อ


3. เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)




4. เกมเรียงลำดับ



5. เกมจัดหมวดหมู่



6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์



7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด



8. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)



9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย



10. เกมพื้นฐานการบวก




11. เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น