ครั้งที่ 4

การเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคาร ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2560



บทที่ 3
สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย


“สื่อ” หมายถึง สิ่งต่าง ๆ ที่อยู่รอบๆ ตัวเด็ก คือ สิ่งที่มีชีวิต สิ่งที่ไม่มีชีวิต สิ่งที่ประดิษฐ์ขึ้น ได้แก่ คน สัตว์ พืชผัก ผลไม้ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องเล่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เทป ยานพาหนะ ฯลฯ สิ่งที่เหล่านี้เมื่อเด็กได้พบเห็น หรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งมีส่วนช่วยให้เด็กพัฒนาทางกาย อารมณ์– จิตใจ สังคม และสติปัญญา คุณหญิงเบญจา แสงมลิ
ลักษณะของสื่อ

ชัยยงค์ พรหมวงศ์ ได้แบ่งสื่อ ออกเป็น 3 ประเภท

1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ สามารถจำแนกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 2 กลุ่ม

1.1 วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา

1.2 วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย

1.2.1 สิ่งพิมพ์1.2.2 ภาพชุด1.2.3 เทปโทรทัศน์1.2.4 เทปเสียง

2.สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์

2.1 เครื่องเสียง

2.2 อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย

2.3 อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ

3. สื่อการสอนประเภทวิธีการ
3.1 การสาธิต 
 3.2 การทดลอง 
 3.3 เกม 
 3.4 การแสดงบทบาทสมมติ
3.5 การจำลองสถานการณ์ 
 3.6 การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา
3.7 ทัศนศึกษา 
 3.8กิจกรรมอิสระ 
 3.9 กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย

1) สื่อเป็นหัวใจของการจัดกิจกรรมเตรียมความพร้อมให้เด็ก ได้รับประสบการณ์ตรง

2) สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์ตรงกับข้อเท็จจริง

3) ช่วยสร้างความสนใจของเด็กและเป็นสิ่งเร้าให้เด็กสนใจที่จะทำกิจกรรมและเกิดการเรียนรู้ได้ดี

4) ช่วยให้เด็กจดจำสิ่งต่าง ๆ ได้ง่ายและไม่ลืม

5) ช่วยอธิบายสิ่งที่ยากให้เข้าใจง่าย ช่วยให้คุณภาพการเรียนรู้ดีขึ้น

6) ช่วยให้เรียนรู้ได้เร็ว ใช้เวลาอธิบายน้อย เรียนรู้ได้ปริมาณมาก

7) สื่อช่วยสร้างเจตคติที่ดีให้เกิดกับเด็ก

8) สื่อเป็นสิ่งเร้าที่เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัส

9) ช่วยส่งเสริมการคิดและการแก้ปัญหา

10) สื่อช่วยให้เด็กเกิดจินตนาการ

11) สื่อช่วยตอบสนองความสนใจ อยากรู้อยากเห็นตามธรรมชาติ

12) เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ครูได้พัฒนาเด็กได้อย่างเต็มศักยภาพ

13) ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น

14) ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่าง ๆ

15) เป็นศูนย์รวมความสนใจเด็ก และทำให้บทเรียนน่าสนใจ

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย

1.มีลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการของเด็ก

2.มีขนาดเหมาะสมกับเด็กและขนาดของมือเด็ก

3.มีคุณค่าต่อพัฒนาการด้านต่าง ๆ ของเด็ก

4.ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน

5.มีสีสันสวยงาม สดใสไม่สะท้อนแสง

6. มีความทนทาน น้ำหนักเบา ไม่แตกหักง่าย ไม่แหลมคม

7. มีรายละเอียดน้อย ง่าย (เหมาะสมกับวัย)

8. มีลักษณะเป็นมิติ ซึ่งเด็กจะสนใจและเข้าใจได้ดีกว่า

9. เป็นสื่อที่สอดคล้องกับเรื่องที่เด็กสนใจ และต้องการเรียนรู้

10.สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบหรือปรับเปลี่ยนรูปแบบได้

การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก

1. การเลือกสื่อ

1.1 มีความปลอดภัย สื่อที่จะสร้างขึ้นหรือเลือกให้เด็ก ครูควรคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นอันดับแรก

1.1.1ต้องทำด้วยวัสดุที่ไม่เป็นพิษเป็นภัยต่อเด็ก

1.1.2พื้นผิวของวัตถุเรียบ 1.1.3ขนาดและน้ำหนักเหมาะสม

1.2 คำนึงถึงประโยชน์ ที่เด็กได้รับ

1.2.1เร้าให้เด็กอยากรู้อยากเห็น 1.2.2กระตุ้นพัฒนาการ

1.2.3ประโยชน์ที่มีต่อกล้ามเนื้อและการเคลื่อนไหว

1.3 ความประหยัด

1.3.1 เงิน ค่าใช้จ่ายในการผลิตไม่สูงเกินไป

1.3.2 ประหยัดในแง่ของวัสดุ

1.4 ด้านประสิทธิภาพ

1.4.1 ใช้ได้หลายอย่าง หลายโอกาส

1.4.2 ให้เด็กได้ประสบการณ์ตรง

2. วิธีการเลือกสื่อ

2.1 เลือกให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย

2.2 เลือกให้เหมาะสมกับวัยและความสามารถ

2.3 เลือกใช้ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของท้องถิ่น

2.4 มีวิธีการใช้ง่าย ๆ และนำไปใช้ได้หลาย ๆ วิธี

2.5 มีความถูกต้องตามเนื้อหาและมีความทันสมัย

2.6มีคุณภาพดี

2.7เลือกสื่อที่เด็กเข้าใจง่ายในเวลาสั้น ๆ ไม่ซับซ้อน

2.8สื่อที่เลือกเป็นสื่อที่สามารถสัมผัสได้

2.9เลือกสื่อเพื่อใช้ฝึกและส่งเสริมการคิด

2.10เลือกสื่อให้เหมาะสมกับเวลาที่ใช้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น